เรซูเม่เป็นเอกสารที่ใช้สรุปประวัติการทำงานของคุณลงใน 1 หน้ากระดาษ เพื่อใช้ส่งสมัครงานในตำแหน่งงานที่สนใจ แต่ถ้าคุณมีช่วงที่ว่างงาน และในช่วงนั้นคุณทำงานฟรีแลนซ์แทนล่ะ จะใส่งานฟรีแลนซ์ ลงไปในเรซูเม่อย่างไร วันนี้ เว็บเรซูเม่อินไทย มีเทคนิคดี ๆ มาฝากกัน
คุณรู้ไหมว่า คนที่แอคทีฟมาก ๆ ส่วนมากแล้วจะเคยทำงานฟรีแลนซ์มาบ้าง ไม่มากก็น้อย ไม่ว่ามันจะเป็นงานระยะสั้น หรือระยะยาว และในสายตาของฝ่ายสรรหาบุคลากรแล้ว ฟรีแลนซ์มีบางส่วนที่น่าสนใจ มากกว่าคนที่ขี้เกียจ ไม่ค่อยทำอะไร
งานของคนฟรีแลนซ์ ถึงแม้บางคนจะมองว่าเป็นการรับงานภายนอก แต่จริงๆแล้วก็มีประโยชน์ในตัวของมันเองหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาความสามารถของฟรีแลนเซอร์นั่นเอง ดังนั้นสิ่งที่คุณจะต้องเขียนลงในเรซูเม่ก็คือ คุณสามารถใช้ความสามารถของคุณ กับตำแหน่งงานที่สมัครได้อย่างไร
1. แสดงให้ชัดเจนเลยว่าคุณเคยทำงานฟรีแลนซ์
แสดงให้ชัดเจนเลยว่าคุณเคยทำงานฟรีแลนซ์ ไม่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ อะไรทั้งนั้น คุณสามารถใส่คำว่า Freelance ลงไปในเรซูเม่ได้เลย พร้อมทั้งใส่ช่วงเวลา โปรเจกต์ และรายละเอียดลงในเรซูเม่ให้เรียบร้อย เสมือนกับว่านี่เป็นประสบการณ์ทำงานหนึ่งบริษัทที่คุณเคยทำมา ต่างกันตรงที่คุณไม่ได้ในงานให้กับบริษัทไหนเท่านั้นเอง
แนะนำ: วิธีใส่งานอดิเรกที่มีประโยชน์ลงในเรซูเม่ เพิ่มโอกาสการได้งาน
2. ไม่แสดงชื่อบริษัทของคุณเอง
ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือ ในบางครั้งคุณจดบริษัทเพื่อรับงานฟรีแลนซ์ แต่การใส่ชื่อบริษัทของตัวเองลงไปในเรซูเม่เมื่อทำงานฟรีแลนซ์ถือว่าไม่มีผลดีต่อบริษัทที่คุณกำลังไปสมัครงานอยู่ เนื่องจากหลายประการด้วยกัน อย่างแรก HR อาจจะสงสัยว่าที่คุณเข้าไปทำงานในบริษัทเพื่อจะแย่งลูกค้าไปรับงานเองหรือเปล่า ตรงนี้ต้องระวังตัวให้ดี ๆ
แนะนำ: เช็คลิสต์ 7 สิ่งที่คุณต้องตรวจทานในเรซูเม่ ก่อนส่งจริง
3. ใส่ความสำเร็จที่คุณได้รับ
ความสำเร็จถือเป็นสิ่งที่มีค่าในเรซูเม่ใดๆ ถ้าหากว่าคุณเคยได้รับความสำเร็จจากการทำงานฟรีแลนซ์มาล่ะก็ ให้ใส่มันลงไปในเรซูเม่ของคุณด้วย ไม่ว่าจะเป็น รางวัลต่าง ๆ ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นรางวัลชนะเลิศเสมอไป รางวัลชมเชยก็ถือว่ามีค่าแล้ว หรือการได้ลงในหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ก็มีค่าเช่นกัน ส่วนการได้ลงในเพจ หรือช่องยูทูปกลับมีค่าน้อยกว่ามาก ๆ
แนะนำ: โพยเขียนเรซูเม่ สำหรับตำแหน่ง IT โดยเฉพาะ
4. การใส่ฟรีแลนซ์ลงไปจะมีผลลบเมื่อ
ในบางครั้ง การใส่งานฟรีแลนซ์ลงไปส่งผลลบให้กับเรซูเม่ของคุณโดยรวม ดังนั้นให้ดูให้ดีว่างานฟรีแลนซ์ของคุณตรงกับกรณีเหล่านี้ไหม
- งานที่ทำฟรีให้กับเพื่อน หรือญาติ
- งานฟรีแลนซ์แบบเป็ด ที่ไม่ได้เน้นทำอะไรเฉพาะทาง
- งานฟรีแลนซ์ที่ไม่ได้ใช้ความสามารถอะไร เช่นยืนแจกใบปลิว
- งานฟรีแลนซ์ที่ลูกค้าของคุณไม่เปิดเผยตน
- งานฟรีแลนซ์ที่คุณไม่รู้จักตัวงาน หรือลูกค้าเป็นอย่างดี