ตำแหน่งงานด้าน IT ถือว่าเป็นสายงานเฉพาะทางที่ ก็ต้องการเรซูเม่เฉพาะทางเช่นเดียวกัน เรซูเม่ IT จึงจะมีความแตกต่างและไม่เหมือนกับเรซูเม่สมัครงานทั่ว ๆ ไป เพราะว่างานด้าน IT ความสำคัญของมันจะอยู่ที่ คุณจะต้องแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าคุณเป็นสายไหนในวงการ IT และถนัดใช้งานเทคโนโลยีอะไรบ้าง ซึ่งในสายงานนี้จะมีความสำคัญมากกว่าชื่อเสียงของบริษัทที่คุณเคยทำงานมาด้วยเป็นอย่างมาก
ในวันนี้พวกเราเว็บ เรซูเม่อินไทย จะมาตีแผ่ และแนะนำถึง โพยของเรซูเม่ไอที (cheat sheet) ว่าในการเขียนเรซูเม่ของชาวไอทีนั้นจะต้องใส่อะไรลงไปบ้าง
1. แสดงเทคโนโลยีที่ถนัดออกมาเป็นเซกชั่นใหม่เลย
เรซูเม่ของสายงานไอทีนั้น มักจะนิยมสร้างเซกชั่นใหม่ให้อยู่บนสุดของเรซูเม่ และพูดถึงเทคโนโลยีที่คุณถนัดให้ชัดเจน ใส่ในหัวข้อ บุลเล็คเรียงลงไปให้อ่านได้ง่าย เช่น
- โปรแกรมเมอร์: รายชื่อภาษา เครื่องมือ ไลบรารี่ วิธีการพัฒนาซอฟท์แวร์ ที่ถนัด หรือเคยผ่านการใช้งานมา
- นักทดทอบระบบ: รายชื่อภาษา เครื่องมือ ที่ถนัด หรือเคยผ่านการใช้งานมา
- ผู้ดูแลระบบ: ระบบปฏิบัติการ ลงลึกถึงเวอร์ชั่น ที่ถนัด หรือเคยผ่านการใช้งานมา
- ผู้ดูแลฐานข้อมูล: ชื่อฐานข้อมูล ลงลึกถึงเวอร์ชั่น ที่ถนัด หรือเคยผ่านการใช้งานมา
- ไอทีซัพพอร์ท: รายชื่ออุปกรณ์ ระบบปฏิบัติการ ที่เคยผ่านมือมา
- เน็ตเวิร์คเอนจิเนียร์: รายชื่ออุปกรณ์ โปรโตคอล เครื่องมือ ที่ถนัด หรือเคยผ่านการใช้งานมา
- กราฟฟิค: รายชื่อโปรแกรมที่ทำได้
- ตัดต่อวีดีโอ: รายชื่อโปรแกรมที่ทำได้
แนะนำ: วิธีใส่งานฟรีแลนซ์ลงในเรซูเม่ อย่างมืออาชีพ
2. นำเสนอความสามารถของตัวเอง ในเซกชั่นประวัติการทำงาน
แทนที่จะใส่ลงไปว่าคุณได้ทำงานอะไรมา ในเซกชั่นของประวัติการทำงาน ให้ลองใส่ข้อมูลตรงนี้ลงไปว่า คุณทำมันได้ดีขนาดไหน แทนดูสิ ด้วยการใช้ตัวเลขต่างๆลงไป จะทำให้เห็นภาพได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นเป็นอย่างมาก
- ขนาดของโปรเจกต์
- ระยะเวลาโปรเจกต์
- จำนวนโปรเจกต์
- จำนวนบรรทัดของโค้ด
- จำนวนเรคอร์ดในฐานข้อมูล
- จำนวนพนักงานที่ดูแล
แนะนำ: ขนาดกระดาษ และขอบกระดาษที่ใช้กับเรซูเม่มาตรฐาน
3. เน้นสายงานที่ลงลึก
มาถึงยุคนี้แล้ว งานสาย IT ไม่มีแล้วที่จะมาพูดกันว่า เราจะทำงานโปรแกรมเมอร์ หรืองานไอทีซํพพอร์ทดีน๊า กลับกัน งานสายไอทีจะเน้นลงลึกไปเลยมากกว่า ซึ่งถ้าหากตัวคุณเองเป็นสายสเปเชียลิสต์อยู่แล้วก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร ให้ใส่ข้อมูลตามนี้
- ภาษา และเครื่องมือของสายงานนี้
- ภาษา และเครื่องมือของสายงานข้างเคียง (ถ้ามี)
แต่ถ้าคุณเป็นสายเป็ดขึ้นมาล่ะก็ ก็ไปให้สุดทางของสายเป็ดก็แล้วกัน ทำให้ได้ครบทุกอย่างที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปเลย
- ติดตั้งคอมพิวเตอร์
- ซ่อมคอมพิวเตอร์
- ติดตั้งอุปกรณ์ไอทีต่างๆ เช่นปรินเตอร์ สแกนเนอร์ เราเตอร์
- ติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆที่เสียบไฟได้ เช่น ตู้เย็น หม้อหุงข้าว ไมโครเวฟ แอร์ (พูดเป็นเล่นไป มีจริงๆนะที่เรียกไอทีไปซ่อมแอร์)
- ทำกราฟฟิคได้
- ทำวีดีโอได้
- ใช้งาน Microsfot Office ได้
- ทำโซเชียลมีเดียได้
- ติดตั้ง server และแก้ไขได้
- เขียนเว็บได้
- ฯลฯ
แนะนำ: CV กับ Resume ต่างกันอย่างไร? ควรจะใช้อันไหนดี?
4. แสดงเซอร์ทิฟิเคท และคอร์สเรียนที่ผ่านมา
ถ้าหากว่าคุณมี เซอร์ทิฟิเคท อะไร ก็ขอให้แสดงมันให้โดดเด่น โดยสร้างเซกชั่นพิเศษให้กับมันไปเลย อย่าซ่อนมันในดงตัวอักษร เพราะในหลาย ๆ ครั้งพนักงานสรรหาบุคลากรก็อาจจะพลาดอ่านข้ามไปได้บ้าง ให้ใส่
- Certificates
- คอร์สเรียนระยะสั้น
แนะนำ: ตัวอย่างเรซูเม่ โปรแกรมเมอร์ พร้อมวิธีเขียนอย่างละเอียด
5. แสดงความสามารถด้านซอฟท์สกิล
นอกจากความสามารถด้านไอทีแล้ว คุณก็ควรจะแสดงว่าคุณสามารถสื่อสารกับบุคลอื่นนอกสายงานรู้เรื่องด้วยเช่นกัน ให้ใส่รายละเอียดต่อไปนี้ด้วย
- การจัดการเวลา
- การเข้าประชุม
- ความอดทน
- การจัดความสำคัญของงาน
- ความคิดสร้างสรรค์
- การสื่อสาร
แนะนำ: 9 เทคนิคการทำเรซูเม่ให้น่าสนใจ
6. ใช้ Career Objective ให้ตรงกับตัวคุณ
ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดผิดพลาดที่มักจะพบเจอประจำในสายงานไอที ส่วนใหญ่จะก้อปปี้ Career Objective มาจากคนอื่นแต่ไม่ได้แปลงให้ตรงกับตัวเอง ให้ดู ตัวอย่าง Career Objective ไอที จากคนอื่นได้ แต่เราจะต้องเอามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเราด้วย อย่าเป็น IT แบบ Ctrl+C , Ctrl+V
7. ใช้คีย์เวิร์ดในเรซูเม่ของคุณอย่างถูกต้อง
บริษัทต่างๆมีการใช้งานระบบที่เรียกกันว่า ATS (Applicant Tracking System) ซึ่งจะเข้ามาช่วยจัดเก็บเรซูเม่ของผู้สมัครงานลงในฐานข้อมูลที่สืบค้นได้ เราอยู่ในสายงานไอทีกันอยู่แล้ว ทุกคนก็น่าจะเข้าใจกันได้ง่าย ๆ เนอะ ขอไม่ลงลึกนะครับ ใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบนี้ก็ไปหาอ่านกันต่อเองนะ
วิธีใส่คีย์เวิร์ดให้ถูกต้องก็คือ
- ใส่ชื่อเฉพาะด้วยภาษาอังกฤษ (เช่น Java ไม่ใช่จาว่า)
- ใส่ชื่อเฉพาะให้สะกดถูกต้อง
- หากชื่อเฉพาะมีขีด หรือจุด ก็ใส่ให้ถูกต้อง (เช่น .net)
- หากในวงการมีชื่อเรียกหลายอย่าง ก็ใส่มันลงไปในวงเล็บให้หมด (เช่น .net และ dotnet)
- หลีกเลี่ยงการสะกดผิด ไม่ว่าจะจงในหรือไม่จงใจก็ตาม
- อย่าสร้างเรซูเม่เป็นไฟล์รูป เพราะโปรแกรมยังอ่านไม่ออก
ตัวอย่างเรซูเม่สายไอที นักศึกษาจบใหม่ ไม่มีประสบการณ์
สำหรับนักศึกษาจบใหม่สายไอที ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน ลองดูตัวอย่างเรซูเม่ นักศึกษาจบใหม่ สายไอที ไม่มีประสบการณ์ เพื่อความเข้าใจถ่องแท้ว่าจะต้องเขียนเรซูเม่อย่างไรดีนะครับ
สรุป
ทั้งหมดนี้คือโพยสำหรับการเขียนเรซูเม่ของงานไอทีโดยเฉพาะ ซึ่งรับรองว่าถ้าคุณใส่ข้อมูลให้ครบ ๆ ยังไงก็จะต้องได้งานอย่างแน่นอน ขึ้นอยู่แค่ว่าจะเร็วหรือจะช้าเท่านั้นเอง